บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

โรงแรมดุสิตธานี กรุงเทพ โรงแรม 5 ดาว

ดุสิตธานี กรุงเทพ


ดุสิตธานี กรุงเทพ เป็นโรงแรมในระดับ 5 ดาวที่มีความโดดเด่นและเพียบพร้อมสำหรับต้อนรับคุณ สัมผัสกับทุกสิ่งที่กรุงเทพรอการค้นหาจากคุณในวันหยุดพักผ่อน โดยมี ดุสิตธานี กรุงเทพ เป็นจุดเริ่มต้น หรือหากคุณเดินทางแบบธุรกิจ คุณก็จะพบกับความสะดวกสบายต่างๆ ในแบบที่คุณต้องการ นอกจากนี้ คุณยังสามารถที่จะเปรียบเทียบราคาห้องพัก สิ่งอำนวยความสะดวก ตลอดจนเช็คสถานะของห้องพัก สำหรับโรงแรมในย่านสีลม จากเว็บไซต์ของเราได้อีกด้วย

หากคุณกำลังมองหาที่พักหรูๆ สักแห่งในกรุงเทพ คุณได้มาถูกที่แล้ว ดุสิตธานี กรุงเทพเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาวในย่านสีลม ที่รองรับทั้งนักธุรกิจและนักท่องเที่ยว เรามีทุกอย่างที่คุณคาดหวังจากโรงแรมระดับนี้ ซึ่งก็คือความหรูหราในแบบที่คุณจะประทับใจไปอีกนานแสนนาน

ดุสิตธานี กรุงเทพ มีห้องปลอดบุหรี่ไว้เป็นทางเลือกสำหรับแขกที่มีความกังวลเรื่องสุขภาพ หรือ ต้องการสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสุขภาพ หากคุณมีความต้องการที่จะเข้าพักในห้องปลอดบุหรี่ คุณสามารถระบุได้ในระหว่างที่คุณทำการจองห้องพักกับเรา

สัมผัสกับ ความผ่อนคลายอย่างที่คุณไม่เคยได้รู้สึกมาก่อน สปาของเราจะช่วยให้การเข้าพักที่ดุสิตธานี กรุงเทพของคุณเป็นหนึ่งในห้วงเวลาที่น่าจดจำ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญของเราจะคอยดูแลและให้บริการสปากับคุณอย่างมืออาชีพ โดยที่คุณแทบจะไม่ต้องทำอะไรนอกจากผ่อนคลายทุกโสตประสาทไปกับทุกสัมผัส และบรรยากาศรอบๆ ตัวคุณ




สิ่งอำนวยความสะดวกที่ ดุสิตธานี กรุงเทพ

ประเภทของโรงแรม

ประเภทของโรงแรมและการแบ่งระดับชั้น

โรงแรมที่แบ่งตามหน้าที่
โรงแรมเพื่อการค้าหรือการพาณิชย์ ( Commercial Hotel ) มุ่งเน้นบริการนักธุรกิจ พ่อค้าที่มาติดต่อธุรกิจ
โรงแรมเพื่อการพักผ่อน ( Resort Hotel ) มักตั้งอยู่ตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม มีบริการด้านต่าง ๆ ครบครัน
โรงแรมเพื่อการประชุม ( Convention Hotel ) โรงแรมที่มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อจัดเป็นที่ประชุมสัมมนา หรืออบรมอื่นๆ โดยจัดห้องไว้ให้บริการ
โรงแรมเพื่อการพักอาศัย ( Residential Hotel ) เป็นลักษณะให้เช่าห้องพักถาวรในรูปของห้องชุด
โรงแรมเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวโดยใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ( Motel ) มักตั้งอยู่ตามถนนสายสำคัญๆมีที่จอดรถติดกับห้องพัก
โรงแรมที่แบ่งตามทำเลที่ตั้ง ( Location )
โรงแรมในเมืองใหญ่ ( Large Cities ) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองในย่านธุรกิจ การ ท่องเที่ยว ตลอดจนสถานบันเทิงต่าง ๆ ลักษณะของโรงแรมมักมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ 100 ห้องตกแต่งหรูหรามีบริการอื่น ๆ ครบครัน
โรงแรมในเมืองเล็ก ( Small Cities ) มักตั้งอยู่ในเมืองเล็ก ลูกค้าส่วนใหญ่คือ นักธุรกิจ นักท่องเที่ยว นักเดนทาง และลูกค้าในท้องถิ่นที่มาสังสรรค์
โรงแรมชานเมือง ( Saburban Hotel ) ตั้งอยู่ชานเมืองหรือนอกเมือง มีการ คมนาคมสะดวก บรรยากาศเงียบสงบ มีอากาศบริสุทธิ์
โรงแรมสถานตากอากาศ ( Resort Hotel ) จะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.   โรงแรมที่ตั้งอยู่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยว เช่น ภูเขา ทะเล ทะเลสาบ ฯลฯ
2.   โรงแรมที่ไม่มีธรรมชาติดึงดูดนกท่องเที่ยว เป็นรงแรมที่มุ่งเน้นด้านกิจกรรม นันทนาการต่าง ๆ เช่น สนามกอล์ฟ ขี่ม้า ฯลฯ
โรงแรมท่าอากาศยาน ( Airport Hotel ) ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการที่สนามบิน ทั้งนี้ เพราะสนามบินส่วนใหญ่ตั้งอยู่ไกลเมือง
โรงแรมที่แบ่งตามจำนวนห้องพัก
โรงแรมขนาดเล็ก คือ โรงแรมที่มีห้องพักเดี่ยวต่ำกว่า 30 ห้อง
โรงแรมขนาดกลาง คือ โรงแรมที่มีห้องพักมากกว่า 30 ห้องไม่เกิน 100 ห้อง
โรงแรมขนาดใหญ ่ คือ โรงแรมที่มีห้องพักมากกว่า 100 ห้อง ตกแต่งหรูหรา มีบริการครบครัน
โรงแรมที่แบ่งตามราคาค่าเช้าห้องพัก

ระดับ / กลุ่ม
ราคาห้องพักเดี่ยวต่อวัน
เกณฑ์สมาคม
เกณฑ์ ท.ท.ท.
เกณฑ์ในแผน ฯ
1
300
200
400
2
300 - 600
200 - 400
400 - 700
3
600 - 900
400 - 700
700 - 1,000
4
900 ขึ้นไป
700 - 1,000
1,000 ขึ้นไป
5
 
1,000 ขึ้นไป
 


โรมแรมที่แบ่งตามระยะเวลาที่ลูกค้ามาพัก
โรงแรมสำหรับพักชั่วคราว ( Transient Hotel ) คือโรงแรมที่ลูกค้ามาพักเป็นระยะเวลาสั้นๆ
โรงแรมสำหรับพักประจำ ( Residential Hotel ) คือโรงแรมประเภทให้ลูกค้าเช่าพัก เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน โดยคิดค่าเช่าเป็นรายเดือน หรือห้องพักจะเป็นประเภทห้องชุด
ประเภทของโรงแรมและการแบ่งระดับชั้น
ระดับมาตรฐานของโรงแรม
สมาคมยานยนต์ในประเทศอังกฤษ หรือ Automobile Association ( AA ) และ ราชยานยนต์สโมสร หรือ Royal Automobile Club ( RAC ) จัดกลุ่มระดับของโรงแรมแล้วยังนับเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพของโรงแรมในแต่ละกลุ่มด้วย

การจัดกลุ่มโดยวิธีให้ดาว   มีดังนี้

กลุ่มดาวเดียว หมายถึง โรงแรมที่มีขนาดเล็ก สิ่งอำนวยความสะดวกและเฟอร์นิเจอร์ร่าย ๆ และ พอใช้ มีห้องน้ำ ห้องส้วมเพียงพอในลักษณะของการใช้ร่วมกัน มีบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับผู้มาพักเท่านั้น บรรยากาศเป็นกันเอง
กลุ่มสองดาว หมายถึง โรงแรมที่ตกแต่งไว้อย่างดีมีระดับห้องพักสูงกว่าระดับดาวเดียว ห้องพักกว้างขึ้น มีห้องน้ำในตัว อาหารมีครบครันขึ้น ไม่บริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับบุคคลภายนอก
กลุ่มสามดาว หมายถึง โรงแรมที่ตกแต่งไว้อย่างดี ห้องพักกว้างขึ้น มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มากขึ้น มีห้องน้ำที่มีอ่างอาบน้ำ มีบริการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับบุคคลภายนอก
กลุ่มสี่ดาว หมายถึง โรงแรมขนาดใหญ่ ตกแต่งดีเป็นพิเศษ มาตรฐานสูงในด้านบริการและความสะดวกสบาย มีห้องอาหารมากกว่า 1 ห้อง
กลุ่มห้าดาว หมายถึง โรงแรมขนาดใหญ่ประเภทหรู มีมาตรฐานสากลระดับสูงในทุก ๆ ด้าน คือทั้งด้านห้องพัก ห้องอาหาร การบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
อ้างอิงจาก http://www.phrae.mju.ac.th

ประเพณีการต้อนรับแขก

ประเพณีการต้อนรับแขก
        ธรรมเนียมไทยถือว่า เมื่อมีผู้มาเยือนถึงบ้าน เจ้าบ้านควรต้อนรับเป็นการแสดงมารยาทอัน ดีงามของเจ้าบ้านมารยาทเป็นคุณธรรมที่ดีที่ทุกคนควรปฏิบัติ
[แก้ไข] การต้อนรับแขก

จึงควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ
ถ้านัดหมายกับแขกคนใดไว้ ต้องจำวันนัดให้ได้ พอจวนเวลานัด ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ไม่ใช่แขกมาแล้วรอเราแต่งตัว
เมื่อแขกมาถึงบ้าน ควรเชื้อเชิญเข้าบ้านด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส และให้ความเคารพตามควร
จัดที่นั่งในที่อันควร จัดน้ำ บุหรี่ มารับรอง ถ้าแขกนั้นเป็นเพื่อนสนิท ต้องแนะนำให้รู้จักกับสามี หรือภรรยา หรือสมาชิกในครอบครัว แต่ถ้าไม่สนิทสนมและเป็นแขกมาธุระส่วนตัวก็ไม่จำเป็นต้องแนะนำ
ชวนแขกคุย อย่าให้เหงา และแสดงความเห็นใจเมื่อแขกมาปรับทุกข์ด้วย ขณะสนทนาอยู่กับแขก ไม่ควรลุกเดินไปมาบ่อย ๆ หรือมองดูนาฬิกา ซึ่งเท่ากับเป็นการไม่ให้ ความสนใจแก่แขก และเป็นทำนองไล่แขกทางอ้อม คนที่มีมารยาทดีไม่ควรทำอาการรำคาญ หรือง่วงนอน ถึงแม้ว่าจะเหนื่อยหรือง่วงก็ไม่ควรแสดง
เจ้าบ้านไม่ควร ตำหนิหรือด่าใครต่อหน้าแขก ควรจะพูดหลังเมื่อแขกกลับแล้ว
ถ้าห้องรับแขกมีวิทยุหรือโทรทัศน์ เวลาแขกกำลังสนทนาอยู่ไม่ควรให้ลูกหลานมาเปิดวิทยุฟัง หรือดูโทรทัศน์ที่ในห้องรับแขก
ถ้าแขกมาขอความช่วยเหลือ ถ้าพอช่วยได้ก็ช่วยไปตามควร ถ้าช่วยไม่ได้ก็แสดงความเห็นใจ ให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์
เมื่อแขกกลับ เจ้าบ้านควรลุกออกไปส่งถึงประตูบ้าน พร้อมกับกล่าวแสดงความขอบคุณที่กรุณา มาเยี่ยม และกล่าวเชิญในโอกาสต่อไป
        และในชีวิตการทำงาน การต้อนรับแขกหรือการไปเยี่ยมเยือนบริษัทอื่น ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาและเกิดขึ้นบ่อยๆแต่ก็แฝงไว้ด้วยธรรมเนียมปฏิบัติที่มองข้ามไม่ได้ เพราะมันสามารถมัดใจผู้ที่คุณติดต่อและนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายได้อย่างง่ายดายแต่เชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่ดูเหมือนง่ายๆ อย่างการต้อนรับแขก หรือการปฏิบัติตัวต่อแขกผู้มาเยือนนั้นกลับกลายเป็นปัญหาของหนุ่มๆ วัยทำงานหลายๆ คนไปอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะพวกมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำงานทั้งหลายทำให้การเชื่อมสัมพันธ์ครั้งนั้นไม่ราบรื่นเท่าที่ควร และพลอยให้การทำงานร่วมกันเกิดความล่าช้าและติดขัดอย่างไม่น่าเชื่อ
[แก้ไข] การทักทาย

        ถ้าหากคุณเป็นแขกไปเยี่ยมสำนักงานอื่น ควรปฏิบัติตัวอย่างสุภาพเช่นเดียวกับคุณไปเยี่ยมเยือนบ้านเพื่อนหรือในทางกลับกัน เมื่อคุณต้องต้อนรับผู้อื่นในออฟฟิศตนเอง ควรทำด้วยความมีอัธยาศัยเหมือนกับเป็นเจ้าของบ้านนั่นก็คือก็คือ ต้องแต่งตัวอย่างเหมาะสม ตรงเวลา และสุภาพ
[แก้ไข] เมื่อคุณเป็นแขก
        ต้องตรงต่อเวลาทุกครั้ง (ในกรณีฉุกเฉินต้องโทรศัพท์ แจ้งผู้ที่เรานัดให้ทราบล่วงหน้า) ตามปกติ คนทำงานมักมีนัดหมายอื่นๆ อีก ดังนั้น ย่อมต้องการเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด เมื่อไปถึงสถานที่ให้แสดงนามบัตร พร้อมแนะนำตัว ชื่อ และบริษัทที่ทำงานแก่พนักงานต้อนรับด้านหน้าพร้อมกับแจ้งความประสงค์ ถ้าหากผู้ที่ต้องการพบยังไม่ว่าง และพนักงานต้อนรับเชื้อเชิญคุณนั่งคุณอาจวางกระเป๋าเอกสารไว้บนพื้นหรือบนตัก แล้วอ่านหนังสือหรือจดโน๊ตรอก็ได้ ข้อสำคัญ จงอย่าไปยุ่มย่ามกับงานของพนักงานต้อนรับ หรือหยิบเอกสารผู้อื่นมาดู เมื่อได้เข้าไปพบกับบุคคลเป้าหมายแล้ว อย่าลืมทักทายด้วยการกล่าว "สวัสดี" ก่อน พร้อมทั้งแนะนำตัวด้วย ถ้าหากว่าพนักงานต้อนรับสักครู่ไม่ได้แนะนำไว้ ในกรณีกลับกัน หากคุณมีแขกมาเยือนถึงที่ทำงาน และมีโทรศัพท์ถึงคุณ คุณน่าจะต่อโทรศัพท์กลับทีหลังดีกว่า ทว่าถ้าเป็นเรื่องสำคัญ ก็ขอโทษและรีบสรุปการเจรจาโดยเร็ว เช่นเดียวกับเวลาที่คุณไปพบคนอื่นแล้วมีโทรศัพท์เข้าคุณควรเสนอตัวออกไปรอข้างนอกชั่วขณะ การเข้าพบใดๆ ไม่ควรอยู่นาน และขากลับอย่าลืมขอบคุณพนักงานต้อนรับด้วย
[แก้ไข] เมื่อคุณเป็นผู้ที่แขกต้องการพบ
        ไม่ควรปล่อยให้เขารอนานเกินความจำเป็น แนะนำตนเองในกรณีที่เขายังไม่รู้จัก หรือหากคุณยังไม่พร้อมที่จะให้เข้าพบก็ควรเชิญไปที่ห้องรับแขก ซึ่งเพียบพร้อมด้วยหนังสือพิมพ์ วารสาร และที่เขี่ยบุหรี่ตามห้องรับแขกใหญ่ๆ ในต่างประเทศ จะไม่มีการเสิร์ฟเครื่องดื่ม ยกเว้นแต่จะมีเครื่องชงกาแฟ ทว่าในเมืองไทยผู้ที่มาเยือนมักได้รับการเสนอว่าต้องการเครื่องดื่มอะไร ชา กาแฟ หรือน้ำเย็น ผู้ทำหน้าที่เป็นเลขาฯหรือมีหน้าที่ในการคัดเลือกบุคคลภายนอกที่ต้องการพบพนักงานระดับสูงในบริษัทนั้นบางทีอาจพบว่าแขกที่มาไม่ได้เปิดเผยตนเอง ก็จงถามชื่อและประเภทธุรกิจของเขา หรือในกรณีที่เจ้านายยังวุ่นอยู่กับงานก็ควรนัดหมายเสียใหม่จะเหมาะสมกว่าหากเจ้านายไม่อยากพบหน้า คุณต้องหาวิธีหลีกเลี่ยงอย่างมิให้เสียน้ำใจต่อผู้มาเยือนและภาพพจน์ของเจ้านาย เช่น คุณอาจแจ้งต่อเขาว่า ช่วงนี้เจ้านายคุณคิวเต็มเหยียด ทั้งเรื่องงานและกำหนดนัดหมายอื่นๆ ในกรณีที่แขกมาเยือนเยิ่นเย้อ จะมีผลกระทบต่อนัดหมายอื่นหรืองานประจำ เลขานุการ หรือพนักงานต้อนรับควรเคาะประตูเข้าไปบอก ว่าถึงเวลาอีกนัดหนึ่งแล้ว เท่ากับแจ้งเป็นนัยๆต่อแขกว่าถึงเวลาต้องกลับเสียที
ปัญหาอันเนื่องมาจากแขกผู้มาเยือน จริงๆ แล้วโอกาสที่เกิดขึ้นคงไม่บ่อยนัก แต่ก็เป็นได้ เมื่อแขกไม่ได้ดังความประสงค์อาจเกิดอารมณ์โกรธและเอะอะขึ้น ถ้าบริษัทจ้างยามหรือหน่วยรักษาความปลอดภัย ก็จงแจ้งขอความช่วยเหลือจากเขา หรือหากไม่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คุณต้องร้องขอให้บุคคลที่ 3 มาร่วมในเหตุการณ์ เพื่อเป็นประจักษ์พยานป้องกันแขก มิให้นำเรื่องราวไปบิดเบือน จนกลายเป็นความเสื่อมเสียต่อทั้งคุณและบริษัท
[แก้ไข] การแนะนำตัว
 การแนะนำตัวนั้น จะว่าง่ายก็ไม่เชิง จะว่ายากก็ไม่ใช่ กฏระเบียบทางสังคมเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ เพื่อจะได้ปฏิบัติตามอย่างถูกต้อง หน้าไม่แตก สิ่งสำคัญขิงการแนะนำตัว คือ ชื่อ ตำแหน่ง ยศ หรือข้อมูลใดๆ ที่สำคัญ อันเป็นการอธิบายบุคคลผู้ถูกแนะนำให้เป็นที่รู้จักกันได้ง่ายขึ้น

ภูทับเบิก by อิฌ เมืองไทย